มาตรฐานในการก่อสร้างโรงงานั้น ถือว่ามีข้อระเบียบเคร่งครัดเป็นอย่างมาก เมื่อขึ้นชื่อว่าโรงงาน หมายถึงโครงงสร้างขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก จะต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง และผ่านการตรวจสอบเท่านั้นเพื่อไม่ให้มันถล่มลงมาใส่คนงานในอนาคต ปัจจุบันนี้มีโครงสร้างที่นิยมสร้างกันอยู่ 3 ชนิด เป็นโครงสร้างที่มีมาตฐานสูง ปรับใช้งานได้ตามธุรกิจของบริษัทนั้น ๆ
1.โครงสร้างโรงงานชั้นเดียวหลังคาเรียบ
เป็นโครงสร้างอาคารสูงชั้นเดียวมีความโปร่ง สามารถสร้างโครงหลังคาได้หลายชนิด เช่นหลังคาทรงคันธนู หลังคาเรียบ มีข้อดีคือสามารถสร้างได้ง่าย รวดเร็ว มีพื้นที่ใช้งานมาก ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในได้ง่าย ได้แสงจากธรรมชาติ รวมถึงการระบายอากาศที่ดี ตัวโครงสร้างมีน้ำหนักเบา ใช้เวลาก่อสร้างเพียงไม่นาน เพราะโครงสร้างน้อย ถ้าไม่ได้สร้างชั้นลอย จะทำให้ราคาวัสดุถูกขึ้นไปอีก ถือเป็นแบบโครงสร้างที่มีราคาก่อสร้างน้อยกว่าแบบอื่น ๆ เป็นอย่างมาก
ส่วนการสร้างโรงงานชั้นเดียวช่วยทำให้ปฎิบัติได้เต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้สังเกตุอันตราย และไฟไหม้ได้ง่ายขึ้น ส่วนใหญ่แล้วโอกาสเกิดไฟไหม้นั้นก็น้อยกว่ามาก ๆ รวมถึงรองรับการติดตั้งเครื่องจักรขนาดใหญ่ได้หลากหลายชนิด และจำนวนหลายตัว ไม่มีการสูญเสียพื้นที่โดยไม่จำเป็นจากบันได หรือลิฟท์ แต่อย่างไรก็ตามอาคารชั้นเดียวแบบนี้ ต้องสร้างบนพื้นที่ดินขนาดใหญ่ มีขนาดใหญ่โตไม่กะทัดรัด อย่างไรก็ตามมันถูกเลือกก่อสร้างก็ต่อเมื่อ พื้นที่ในบริเวณมีราคาถูก มีสายการผลิตขนาดใหญ่ ที่ต้องใช้เครื่องจักรหนัก
2.โครงสร้างโรงงานหลังคาสูง
ในทางเทคนิคแล้วมันก็คือโครงสร้างแบบเดียวกับด้านบน เพียงแต่มีหลังคาที่สูง สามารถรองรับการติดตั้งเครนขนาดใหญ่ เพื่อใช้ในการยกวัสดุภายในอาคารไปตามสายการผลิต หรือคลังเก็บของ มีการระบายอากาศประสิทธิภาพสูง รวมถึงแสงสว่างอย่างเพียงพอ เป็นข้อได้เปรียบสูงสุดของโครงสร้างแบบนี้ ส่วนใหญ่แล้วอาคารแบบนี้มักนำไปสร้างเป็นโรงหล่อ โรงถลุงเหล็ก หรือในสถานที่ ๆ ต้องทำงานในอุณภูมิสูง
3.โครงสร้างโรงงานหลายชั้น
เป็นโครงสร้างที่ใช้สอยประโยชน์จากพื้นที่ดินได้คุ้มค่าที่สุด เพราะสร้างขึ้นเป็นหลายชั้น ใช้พื้นที่ในการสร้างน้อย โครงสร้างขนาดกะทัดรัด เข้าถึงได้ง่าย นิยมใช้สร้างร้านค้า หรือสำนักงานที่มีน้ำหนักรวมกันไม่มาก ข้อเสียคือวัสดุในการก่อสร้างที่แพง ใช้คนงาน และเวลาก่อสร้างนาน ยิ่งสร้างหลายชั้น ยิ่งทำให้ราคาแพง รวมถึงต้องเสียพื้นที่ในการวางรากฐานเพิ่มเติม เพื่อรองรับน้ำหนักตัวอาคารที่เพิ่มขึ้น การผลิตสินค้า และการส่งวัสดุต่อจากชั้นล่าง ไปชั้นบนทำได้ช้า จำนวนชั้นที่เพิ่มขึ้นต้องใช้บันได และลิฟท์ในการเข้าถึง ทำให้ต้องเสียพื้นที่บางส่วนไป