การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หมายถึงอะไร

การที่จะดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการก่อสร้าง จะต้องมีใบรับรองประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง ซึ่งมันเรียกว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมซึ่งเป็นใบที่เจ้าหน้าที่นักออกแบบ หรือ สถาปนิก จะต้องมีเพื่อใช้รับประกันว่ามีคุณวุฒิเพียงพอในการทำงาน โดยมันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งมีขอบเขตการทำงานที่แตกต่างกันออกไป การสถาปนิกประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตถือว่าเข้าข่ายความผิดที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. สถาปนิก จะต้องโดนจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท

ประเภทของใบอนุญาต

ใบอนุญาตในการก่อสร้างหลักๆ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ในแต่ละชนิดจะแยกหมวดหมูชัดเจนว่าเป็นการก่อสร้างในส่วนใด และมีพื้นที่ขอบเขตแค่ไหน ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากข้อมูลด้านล่างนี้

1.ประเภทสถาปัตยกรรมหลัก เป็นงานก่อสร้างสำหรับที่พักอาศัยทั่วไป รองรับพื้นที่ตั้งแต่ 150 ตารางเมตรขึ้นไป และพื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารเพื่อการเกษตรตั้งแต่ขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไป

2.ประเภทสถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นงานผังเมืองขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ขนาด 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป เช่นสะพาน อาคารสูง และระดับอุตหกรรม

3.สาขาภูมิสถาปัตยกรรม  งานพื้นที่ขนาดใหญ่รองรับประชาชนได้ 500 คน มีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางเมตร

4.สาขาสถาปัตยกรรมภายใน งานภายในอาคารขนาด 500 ตารางเมตร ซึ่งเป็นการจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และการนำเทคโนโลยี วิทยาการ วิศวกรรม มาร่วมในการออกแบบ

จำนวนของใบอนุญาติ

ปัจจุบันนี้มีผู้ได้รับใบอนุญาตวิชาชีพไม่พอกับงานก่อสร้างทีกำลังดำเนินอยู่ทุกวันนี้ อย่างผู้ที่มีอำนาจในการเซ็นอนุมัติผังเมืองมีอยู่แค่ 8 คนเท่านั้นในประเทศไทย และคิดดูว่าโครงการทั่วประเทศมีเยอะขนาดไหน จึงไม่แปลกที่หลายโครงการจะใช้เวลายาวนาน เพราะกว่าจะได้คิวสถาปนิกที่ได้รับอนุญาตก็กินเวลาไปหลายเดือน ที่เห็นๆอยู่ทุกวันนี้ก็เกิดจากการที่รัฐบาลอะลุ่มอล่วยให้ แต่ส่วนใหญ่จะเป็นโครงการก่อสร้างของรัฐบาลเอง มันจึงทำให้เกิดข้อแย้งขึ้นหลายครั้ง เพราะสถาปนิกไปทำงานเอกชนไม่ได้ แต่ทำงานให้รัฐบาลได้ไม่ผิด ซึ่งในบางงานก็โชคดีที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้สถาปนิก

นี่เป็นตัวอย่างของอาคารที่ไม่จำเป็นต้องใช้สถาปนิกในขั้นตอนการออกแบบหรือสร้าง อย่างเช่นบ้านพักส่วนตัว ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ก็มักจะใช้สถาปนิกของ อบต. เซ็นเอกสารอนุมัติการก่อสร้าง แต่ถ้าเป็นบ้านพักขนาดที่ไม่เกิน 150 ตารางเมตร ไม่จำเป็นต้องขอใบรับรองจากสถาปนิก รวมถึงพื้นที่ทางการเกษตรที่ไม่เกิน 100 ตารางเมตร ซึ่งสามารถสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนได้โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าหน้าที่รัฐ แต่การให้สถาปนิกดูแบบก็ไม่ได้เรื่องแย่เสียทีเดียว เราจะได้รู้ว่าอาคารที่เราจะสร้างมีข้อบกพร่องตรงไหน และควรจะแก้ตรงไหนก่อนจะเริ่มลงมือสร้าง