ข้อควรรู้ เกี่ยวกับการตรวจรับบ้านก่อนรับโอน

นับเป็นเรื่องสำคัญมากกับการตรวจบ้านก่อนรับโอน หากเราไม่ได้มีช่างที่คอยมาตรวจปัญหาต่างๆให้เราล่ะ กลายเป็นรับโอนบ้านไป แต่ต้องเข้าอยู่ไปแก้ไป โอ๊ยน่าปวดหัวแถมน่าเจ็บใจงั้นวันนี้ผู้เขียนจะพาทุกคนไปดูวิธีการตรวจเช็คบ้านก่อนการรับโอนกันดีกว่า ว่ามีจุดไหน ตรงไหนตรวจยังไงเช็คยังไง

โอนบ้าน

 

          เริ่มกันที่ เรื่องของน้ำ

โอนบ้าน

 

ตรวจเช็คการรั่วไหลของน้ำในทุกจุดโดยการเปิดก๊อกดูว่ามีรอยรั่วหรือไม่ ปั๊มน้ำสามารถที่จะใช้งานได้ปกติไหม น้ำแรงปกติดีหรือไม่ ปิดน้ำทั้งบ้านแล้วหากมิเตอร์ยังทำงานอยู่อาจจะมีจุดที่น้ำรั่วได้  ลองเทน้ำในจุดของท่อระบายน้ำในบ้านเพื่อสังเกตการทำงานและระบายน้ำของท่อ เช็คอุปกรณ์ของสุขภัณฑ์ต่างๆในห้องน้ำให้เรียบร้อยทำการตรวจตราว่าครบถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่ ก๊อกน้ำ ฝักบัว ฝาปิดท่อแบบกันกลิ่น ชักโครกซึมไหม สายชำระชำรุดหรืออยู่ครบดีหรือเปล่า ฯลฯ อาจจะ ดูเป็นเรื่องที่จุกจิกแต่สำคัญมากเลย

 

เรื่องของไฟฟ้า

ทำการตรวจเช็คไฟในบ้านแต่ละจุด หากต้องการที่จะทำการโยกย้ายไฟดวงไหน หรือมีตัวไหนที่เปิดปิดไม่ติดหรือมีปัญหาควรทำการแจ้งเพื่อซ่อมก่อนการรับโอน ใช้ไขควงทำการจิ้มไปที่น๊อตของปลั๊กไฟ เพื่อทำการตรวจสอบหาไฟที่รั่วไหล จากนั้นอย่าลืมเปิดปลั๊กไฟดูว่ามี 3 เส้นหรือไม่  ที่สำคัญคือการเดินสายดินต้องทำการตรวจเช็คให้แน่ใจว่ามีการเดินสายดินให้ อย่าลืมลองเสียบเช็คไฟว่าปลั๊กนั้นสามารถใช้ได้ทุกอันหรือไม่ ไฟเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นต้องมีการติดตั้งสายดินรวมถึงทำเบรคเกอร์ติดแยกไว้ต่างหากตรวจสอบสายไฟใต้ฝ้าและหลังคาเพื่อเช็คว่ามีการใส่ท่อเรียบร้อยป้องกันกรณีฝนตกหลังคารั่วเพื่อจะไม่ให้เป็นอันตรายภายหลัง  สายดินของ Main Breaker ต้องทำการฝังลึกประมาณ 2 เมตร ห้ามตื้นกว่านั้น ปลั๊กไฟในจุดภายในบอก หรือในพื้นที่ๆสามารถจะโดนน้ำได้ต้องมีตัวกั้นน้ำ ควรติดไฟไว้รอบบ้านโดยเลือกแบบสวิทซ์ในการเปิด-ปิด กริ่งภายนอกบ้าน ควรมีไฟ 3 เส้น และ ควรมียางกันน้ำหรือกล่องครอบกันน้ำ

        งานพื้น

ทำการเดินลากเท้าเปล่าไปกับพื้นดูว่าปูพื้นเรียบร้อยหรือไม่ ดูว่าตามร่องปูนสะอาดหรือไม่ ใช้เหรียญในการเคาะตามพื้นเพื่อดูว่าปูพื้นได้เรียบร้อยหรือไม่มีส่วนใดที่โป่งหรือเปล่า หากมีให้เอากระดาษกาวแปะเพื่อทำเครื่องหมายไว้ ให้นำลูกแก้ววางบนพื้นห้างกัน 10 เซนติเมตร หากลูกแก้วไหลมารวมกันแสดงว่าการเทพื้นในบริเวณนั้นอาจจะเป็นแอ่งหลุม

 

งานกำแพง

เช็คตรวจสอบคราบความสะอาดกำแพง หากเป็นวอลเปเปอร์ให้เช็คความเรียบสนิทว่ามีรอยโป่งหรือไม่ ตรวจความตรงของขอบบัวโดยการลากไม่บรรทัดวัดไปกับพื้น หากมีการโป่งหรือเว้า เราจะเห็นช่วงว่างระหว่างไม่บรรทัดที่ทำการเลื่อน เช็คสีภายนอกว่ามีรอยรั่วหรือร้าว หรือมีปัญหาหรือไม่ ไขเช็คประตูหน้าต่างทุกบาน เช็คประตูหน้าต่างว่าทรุดตัวหรือไม่ ลองใช้ไฟฉายส่งหาความผิดปกติของแสงว่าแสงลอดผ่านเป็นปกติหรือไม่ เช็คประตูหน้าบ้านว่าสามารลงล็อคได้ดีหรือเปล่า ใช้งานได้จริงไหม และสามารถใส่แม่กุญแจได้หรือไม่

          งานหลังคา

อาจดูทุลักทุเลไปบ้างแต่ต้องบอกว่าจุดนี้เป็นจุดที่สำคัญ ตรวจเช็คในช่วงหน้าฝนเพื่อดูการรั่วซึม เหยียบที่โครงเหล็กของหลังคาแทนการเหยียบฝ้า ใช้ไฟฉายส่อง หากมีแสงลอดมาได้นั้นจะแสดงให้เห็นว่าหลังคานั้นมีจุดรั่ว สายไฟนั้นต้องทำการร้อยอยู่ใต้โครงหลังคาเหล็ก ไม่ใช่ร้อยอยู่เหนือโครงเหล็กไม่เช่นนั้นเราอาจจะถูกช็อตตอนตรวจงานได้

หากเจอจุดที่ชำรุดหรือเสียหายไม่ว่าจะบริเวณใดให้ทำสัญลักษณ์เอาไว้ อาจให้ช่างของโครงการมาทำกาซ่อมให้