เรื่องบ้าน เป็นเรื่องใหญ่สำหรับทุกคน การมีบ้านสวยงาม น่าอยู่ และสะดวกสบาย เป็นความฝันสำหรับคนที่อยากสร้างครอบครัว แต่การสร้างให้ออกมาได้ตามที่จิตนาการไว้ เป็นปัญหาที่ต้องใช้สมอง รวมถึงเงินในกระเป๋าของเราด้วย วิธีแรกที่เราจะสามารถได้แบบบ้านที่สวยงาม ง่าย และสะดวกที่สุด คือการเลือกจากแคตตาล็อกบ้านตามหนังสือ เว็บไซต์ ลองเปิดดูหลาย ๆ แบบ เผื่อคิดเป็นไอเดียในการปรับแต่งให้ถูกใจได้ภายหลัง ส่วนถ้าถูกใจบ้านในแคตตาล็อก ก็เป็นเรื่องง่ายเลย สามารถติดต่อผู้รับเหมา และส่งแบบให้เขาดูได้ทันที เพราะว่าเป็นแบบบ้านที่ถูกต้องตามมาตฐาน รวมถึงมีลายเซ็นของนักเขียนแบบ และสถาปนิกครบถ้วน
ถ้าเกิดว่ามันยังไม่ใช่ ก็ต้องทำวิธีถัดมา ก็คือการใช้บริการรับออกแบบบ้าน แน่นอนว่ามาพร้อมกับค่าใช้จ่ายหลักหมื่น จนถึงแสนต้น ๆ ตามขนาดบ้าน หรือ ตารางเมตร เป็นวิธีที่ง่ายสำหรับคนเงินถึง เพราะเราจะได้แบบบ้านที่ถูกต้องตามมาตฐานสามารถใช้งานได้ทันที เพียงแค่รวบรวมไอเดีย ความต้องการต่าง ๆ ส่งให้กับบริษัท นักออกแบบก็จะสร้างแบบมาให้ ส่วนใหญ่แล้วจะมาพร้อมกับแบบจำลองสามมิติ ช่วยให้เราดูบ้านเสมือนจริงได้ว่าจะเป็นอย่างไรเมื่อถูกสร้างขึ้น ขั้นตอนนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้จนกว่าจะพึงพอใจ คนส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะใช้บริการของบริษัทรับออกแบบกันมาก
มาถึงขั้นตอนสุดท้าย สำหรับคนที่อยากจะประหยัดงบประมาณให้ได้มากที่สุด นั้นก็คือการออกแบบบ้านเอง ในที่นี้ไม่ใช่การเขียนแบบแล้วส่งให้ผู้รับเหมาจนสร้างเป็นหลังได้เลย เพียงแต่เป็นการร่างแบบคร่าว ๆ รวบรวมไอเดีย ด้วยหลักการเขียนง่าย ๆ นั้น สามารถหาอ่านได้ตามข้อมูลในอินเตอร์เน็ต แค่ค้นหาคำว่า “เขียนแบบบ้านอย่างง่าย” ก็จะขึ้นตัวเลือกมามากมายให้เลือกศึกษา ก็จะพบว่ามันไม่ใช่เรื่องยากเลย พอเราได้ลงมือร่างแบบแล้ว ต้องส่งไปตรวจกับสถาปนิก และวิศวกร เพื่อปรับแบบให้ใช้งานได้จริง ค่าใช้จ่ายก็ขึ้นอยู่กับตามตกลงกัน แต่ถูกกว่าให้บริษัทออกแบบให้ทั้งหมด
หลังจากได้แบบบ้าน ก็ต้องยื่นข้ออนุญาติสร้างกับทางเทศบาลเพื่อขออนุญาติในการสร้างอาคารบนพื้นที่ดินของตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงตรวจสอบความแข็งแรงของโครงสร้างเพิ่มเติม ในกรณีที่บ้านขนาดไม่เกิน 150 ตารางเมตร ไม่มีความจำเป็นต้องมีลายเซ็นต์รับรองจากสถาปนิก คือบ้านขนาด 1 – 2 ชั้น โดยทั้ง 2 ชั้นจะต้องรวมกันแล้วไม่เกิน 150 ตารางเมตรด้วย โดยคนที่เซ็นต์รับรองจากสามารถใช้ลายเซ็นต์ตนเองได้เลย รวมถึงช่วงคานบ้านที่ต้องห่างกันไม่เกิน 5 เมตร เป็นระยะที่ปลอดภัยสำหรับโครงสร้างที่ไม่ได้ออกแบบโดยวิศวกร หรือสถาปนิก