SERVICE
ระบบดับเพลิง
ติดตั้งทดสอบระบบดับเพลิง ตรวจสอบระบบความปลอดภัยในอาคาร หรือ โรงงานอุตสาหกรรมและบ้านของคุณ
สัมมนาอบรม
บริการจัดอบรมสัมมนาเรื่องความปลอดภัยในโรงงาน การทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า การเดินสาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบท่อปะปา
สร้างความเป็นระเบียบในการจัดสรรระบบน้ำภายในโรงงาน โรงเรียน วัด อาคารและบ้านได้เป็นอย่างดีและประหยัด
ระบบไฟฟ้า
บริการตรวจสอบระบบไฟฟ้า ความปลอดภัยในโรงงาน ออกใบรับรอง โดย สามัญวิศวกรไฟฟ้า
หากท่านต้องการที่จะใช้บริการกับบริษัทของเราสามารถติดต่อมาได้ในเวลาทำการ
ทางบริษัทเราบริการตรวจบ้าน ทาวน์โฮม ทาวน์เฮ้า คอนโด อย่างละเอียด เพื่อเราจะได้รับบ้านแบบ 100 % ลดปัญหาเมื่อรับบ้านไปแล้ว กลับมีจุดบกพร่องต่างๆ ปัญหาจุกจิก ต้องคอยซ่อมบำรุงไม่จบไม่สิ้น ทีมงานที่ตรวจสอบบ้านมีใบรับงานอย่างถูกต้อง ประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ผ่านการตรวจงานมากกว่า 400 หลัง ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า สุขาภิบาล ปัญหาเล็กๆน้อยๆที่เรามองไม่เห็น ตรวจสอบละเอียด ท่านสามารถจองคิว วันเวลา กับเราได้ โดยไม่เสียค่ามัดจำล่วงหน้า หลังจากการตรวจงานเราจะส่งรายงานอย่างละเอียดให้คุณ นำไปแจ้งกับทางโครงการได้เลย ส่วนเรื่องราคานั้นไม่ใช่ปัญหา เพราะ เราคิดไม่แพงราคาเป็นกันเอง และเรายังให้บริการด้านการออกแบบ ตกแต่งต่อเติมห้องครัว ต่อเติมหลังคาจอดรถ และ ภายในบ้าน ด้วยผู้ที่จบออกแบบภายในมาโดยตรง ทุกบริการเราจะทำงานด้วยความละเอียดเปรียบเสมือนบ้านของตัวเอง ท่านสามารถโทรปรึกษาได้ทั้งก่อนตรวจงาน และหลังตรวจงาน รับรองคุณจะได้ความประทับในผลงาน และ การให้บริการกับเรา
TEAM
Testimonial
บริการให้คำปรึกษา กับ วิศวกรผู้ชำนาญ ตรวจสอบงาน
Latest news
หัวข้อ 5 ข้อควรคิด เลือกผู้รับเหมาไม่ให้โดนหลอก
กว่าจะมีบ้านกับเขาสักหลังก็ยากเย็นแล้ว ก็อยากได้ผู้รับเหมาที่ดีๆ ทำบ้านสวยๆ ประหยัดงบให้เราได้ จะทำยังไงดีไม่ให้โดนโกง โดนหลอก แล้วก็ไม่ทิ้งงานด้วย
เพื่อนๆ อาจจะเคยได้ยินข่าวผู้รับเหมาเทงานกันนักต่อนักแล้วใช่ไหม วันนี้เรามีเคล็ด(ไม่)ลับ มาให้เพื่อนๆ ที่กำลังมองหาผู้รับเหมาเพื่อสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซมบ้านของเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น เราไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรน่าสนใจบ้าง
Read more about หัวข้อ 5 ข้อควรคิด เลือกผู้รับเหมาไม่ให้โดนหลอก
Default title
วันนี้เราจะมาดูความแตกต่างของเฟอร์นิเจอร์ทั่วไปกับเฟอร์นิเจอร์บิวท์อิน ว่ามันแต่งต่างกันอย่างไร แล้วข้อดีกับข้อเสียมันมีมากน้อยแค่ไหนกันหนอ ในปัจจุบันเฟอร์นิเจอร์บิวท์อินเป็นที่นิยมกันมาก แต่หลายๆคนก็อาจจะยังไม่รู้กันว่ามันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง วันนี้เรามาดูความแตกต่างของเฟอร์นิเจอร์แต่ละตัวกันดีกว่าเราได้หาข้อมูลมาให้คุณแล้ว พร้อมหรือยังคะ
ข้อควรรู้ เกี่ยวกับการตรวจรับบ้านก่อนรับโอน
นับเป็นเรื่องสำคัญมากกับการตรวจบ้านก่อนรับโอน หากเราไม่ได้มีช่างที่คอยมาตรวจปัญหาต่างๆให้เราล่ะ กลายเป็นรับโอนบ้านไป แต่ต้องเข้าอยู่ไปแก้ไป โอ๊ยน่าปวดหัวแถมน่าเจ็บใจงั้นวันนี้ผู้เขียนจะพาทุกคนไปดูวิธีการตรวจเช็คบ้านก่อนการรับโอนกันดีกว่า ว่ามีจุดไหน ตรงไหนตรวจยังไงเช็คยังไง เริ่มกันที่ เรื่องของน้ำ ตรวจเช็คการรั่วไหลของน้ำในทุกจุดโดยการเปิดก๊อกดูว่ามีรอยรั่วหรือไม่ ปั๊มน้ำสามารถที่จะใช้งานได้ปกติไหม น้ำแรงปกติดีหรือไม่ ปิดน้ำทั้งบ้านแล้วหากมิเตอร์ยังทำงานอยู่อาจจะมีจุดที่น้ำรั่วได้ ลองเทน้ำในจุดของท่อระบายน้ำในบ้านเพื่อสังเกตการทำงานและระบายน้ำของท่อ เช็คอุปกรณ์ของสุขภัณฑ์ต่างๆในห้องน้ำให้เรียบร้อยทำการตรวจตราว่าครบถูกต้องอย่างที่ควรจะเป็นหรือไม่ ก๊อกน้ำ ฝักบัว ฝาปิดท่อแบบกันกลิ่น ชักโครกซึมไหม สายชำระชำรุดหรืออยู่ครบดีหรือเปล่า ฯลฯ อาจจะ ดูเป็นเรื่องที่จุกจิกแต่สำคัญมากเลย เรื่องของไฟฟ้า ทำการตรวจเช็คไฟในบ้านแต่ละจุด หากต้องการที่จะทำการโยกย้ายไฟดวงไหน หรือมีตัวไหนที่เปิดปิดไม่ติดหรือมีปัญหาควรทำการแจ้งเพื่อซ่อมก่อนการรับโอน ใช้ไขควงทำการจิ้มไปที่น๊อตของปลั๊กไฟ เพื่อทำการตรวจสอบหาไฟที่รั่วไหล จากนั้นอย่าลืมเปิดปลั๊กไฟดูว่ามี 3 เส้นหรือไม่ ที่สำคัญคือการเดินสายดินต้องทำการตรวจเช็คให้แน่ใจว่ามีการเดินสายดินให้ อย่าลืมลองเสียบเช็คไฟว่าปลั๊กนั้นสามารถใช้ได้ทุกอันหรือไม่ ไฟเครื่องทำน้ำอุ่นนั้นต้องมีการติดตั้งสายดินรวมถึงทำเบรคเกอร์ติดแยกไว้ต่างหากตรวจสอบสายไฟใต้ฝ้าและหลังคาเพื่อเช็คว่ามีการใส่ท่อเรียบร้อยป้องกันกรณีฝนตกหลังคารั่วเพื่อจะไม่ให้เป็นอันตรายภายหลัง สายดินของ Main Breaker ต้องทำการฝังลึกประมาณ 2 เมตร ห้ามตื้นกว่านั้น ปลั๊กไฟในจุดภายในบอก หรือในพื้นที่ๆสามารถจะโดนน้ำได้ต้องมีตัวกั้นน้ำ ควรติดไฟไว้รอบบ้านโดยเลือกแบบสวิทซ์ในการเปิด-ปิด กริ่งภายนอกบ้าน ควรมีไฟ 3 เส้น และ ควรมียางกันน้ำหรือกล่องครอบกันน้ำ Read more about ข้อควรรู้ เกี่ยวกับการตรวจรับบ้านก่อนรับโอน[…]
การเลือกสถาปนิก
หลายๆ คนที่กำลังมองหาสถาปนิกมาออกแบบบ้านให้กับเรา ก็อาจจะมีข้อสงสัยว่าเราต้องคุยกันแบบไหนยังไงบ้าง เพื่อให้สถาปนิกเข้าใจกับสิ่งที่เราต้องการ ทั้งการออกแบบตามที่เราวาดฝันไว้ หรือจะต้องตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต และที่สำคัญอยู่ในงบประมาณที่เรานั้นตั้งเอาไว้ด้วย มีปัจจัย 5 ปัจจัยหลักๆ ง่ายๆ ในการเตรียมตัวที่จะเลือกและพูดคุยกับสถาปนิก การเลือกสถาปนิก ผู้ออกแบบ ขั้นตอนแรกต้องเริ่มจากหาผู้ออกแบบที่ตรงใจเราก่อน อาจจะสอบถามจากคนที่เรารู้จัก หรือหาในช่องทางออนไลน์ โดยดูผลงานจากสถาปนิกที่เคยออกแบบไว้ ว่าเป็นแนวที่เราชื่นชอบหรือไม่ และดูการรีวิวของลูกค้าเจ้าเก่าของสถาปนิกคนนั้นว่าผลงานออกมาเป็นที่น่าพอใจหรือไม่ #ให้ลองเลือกสถาปนิกหลายๆ เจ้า แล้วลองทักไปคุย สอบถามแนวทางการทำงานและการออกแบบของสถาปนิกเบื้องต้น ว่าเป็นแนวทางที่เราคิดหรือไม่เพราะสถาปนิกมีแนวทางการออกแบบบ้านที่แตกต่างกัน ซึ่งรสนิยมและสไตล์ความชอบที่แตกต่างของสถาปนิกผู้ออกแบบนั้นเองที่จะทำให้เราเลือกสถาปนิกที่ตรงใจและคุยกันรู้เรื่องมากที่สุด เตรียมบรีฟให้ผู้ออกแบบ บอกความต้องการของเราเองให้สถาปนิกทราบ ไม่ว่าจะสีหรือสไตล์ที่เราชอบ ถ้าไม่แน่ใจลองปรึกษากับทางสถาปนิกดู ว่ามีแนวทางการออกแบบให้อย่างไรบ้าง ซึ่งสถาปนิกส่วนใหญ่จะใช้วิธีดูจากช่วงอายุ ไลฟ์สไตล์ของเจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยเป็นหลักวิธีนี้อาจจะช่วยให้ได้ไอเดียการออกแบบที่ดีกว่าที่คิดไว้ได้ การเตรียมงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ ด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่ทำให้เราต้องคำนึงถึงรายรับ – รายจ่าย ที่เราจะต้องใช้กันแล้ว มีการจำกัดงบประมาณค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเงื่อนไขต่างๆของผู้ว่าจ้างก็คือ อยากได้การออกแบบที่สวยได้วัสดุที่ดีแต่ราคาถูก ซึ่งเรื่องพวกนี้ เป็นเรื่องที่จะต้องพูดคุยกันให้เข้าใจทั้งผู้ออกแบบและผู้รับเหมา ตั้งแต่เริ่ม ให้ลองตีงบแบบคร่าวๆ ไว้ในใจก่อน ไม่ก็สอบถามทางสถาปนิกดูว่างบประมาณเท่านี้ได้แค่ไหนเปลี่ยนแปลงอะไรได้บ้าง #แนะนำให้เตรียมรูปแบบวัสดุคร่าวๆ ที่อยากจะใช้เพื่อที่ทางสถาปนิกจะได้ช่วยหา Option ของวัสดุที่เหมือนหรือใกล้เคียงเพื่อประหยัดงบประมาณเราไม่ให้บานปลาย ตกลงเรื่องระยะเวลาการทำงาน สอบถามผู้ออกแบบให้กำหนดระยะเวลาในการสร้างและออกแบบใช้เวลาเท่าไหร่ Read more about การเลือกสถาปนิก[…]
สถาปนิกแตกต่างกับวิศวกรอย่างไร ?
หลายๆ คนมักอาจที่จะเข้าใจผิดระหว่างวิชาชีพที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง โดยเฉพาะในสภาพแวดล้อมของบ้านเรา ที่ในสื่ออย่างละครหรือภาพยนตร์นั้นมักไม่ได้พ่วงความรู้และความเข้าใจในสาขาวิชาชีพต่างๆ ทำให้หลายๆ คนมักจะสับสนหรือไม่เข้าใจในหน้าที่และการปฏิบัติงานของสาขาวิชาชีพต่างๆ วันนี้จะมาอธิบายให้เข้าใจแบบง่ายๆ ในหน้าที่และความแตกต่างของสถาปนิกและวิศวกรกัน สถาปนิกนั้น จะมีหน้าที่ในการออกแบบรูปทรง รูปร่าง หน้าตา รวมไปถึงการใช้สอยของอาคารบ้านเรือน ส่วนวิศวกรนั้น จะเป็นสาขาที่เกี่ยวกับการก่อสร้างต่างๆ จะมีหน้าที่คำนวณเกี่ยวกับโครงสร้างของอาคารบ้านเรือนต่างๆ รวมถึงระบบไฟฟ้า ระบบระบายน้ำ และอื่นๆ ซึ่งค่อนข้างที่จะมีเรื่องการคำนวณตัวเลขมาเกี่ยวข้องมากหน่อย แต่แน่นอน ระหว่างสถาปนิกและวิศวกรนั้นจะต้องมีการทำงานร่วมกันแต่หากพูดถึงหน้าที่และการปฏิบัติงานแล้วนั้นแตกต่างกันออกไป แต่ในขณะเดียวกันนั้นคนที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับบ้านและการก่อสร้าง ซึ่งถ้าความต้องการไม่ซับซ้อน และบ้านที่จะออกแบบนั้นมีขนาดไม่เกิน 150 ตารางเมตร ก็อาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องใช้สถาปนิกในการออกแบบก็ได้ และยังมีข้อกฎหมายที่เอื้ออำนวยในส่วนนี้อยู่ ด้วยการกำหนดให้ อาคารพักอาศัยทั่วไปที่มีพื้นที่ไม่เกิน 150 ตารางเมตร หรืออาคารที่เกี่ยวกับการเกษตรกรที่มีพื้นที่ไม่เกิน 400 ตารางเมตร ไม่จำเป็นต้องใช้สถาปนิกในการเซ็นออกแบบและควบคุมงานในการขออนุญาตก่อสร้าง แต่หากเราต้องการให้บ้านออกแบบมาอย่างสมบูรณ์แบบรวมไปถึงมีการใช้งานที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม มีพื้นที่ใช้สอยต่างๆ ในรูปแบบที่สะดวกกว่าเดิม การว่าจ้างสถาปนิกเป็นเรื่องที่เหมาะสมที่สุด เพราะนอกจากการออกแบบยังมีในเรื่องของกฎหมายอาคาร และการคำนึงถึงงบประมาณในภาพรวม ซึ่งสถาปนิกจะสามารถที่จะให้คำปรึกษาและเข้ามาช่วยออกแบบในส่วนนี้ได้ สถาปนิกจะสื่อสารให้เราเห็นถึงรูปแบบบ้านต่างๆ ที่ต้องการสร้าง ทั้งการทำภาพ เขียนแบบ และโมเดลจำลอง ประกอบทั้งข้อดีข้อเสียและทางเลือกต่างๆ มานำเสนอแก่เรา ทำให้เห็นถึงรูปแบบของบ้านที่เราต้องการได้อย่างชัดเจนทำให้เรานั้นสามารถเห็นภาพจริง โดยที่ไม่ต้องไปกังวลเมื่อเกิดปัญหาหรือความไม่พอใจเมื่อบ้านสร้างเสร็จ แถมยังสามารถที่จะหาข้อสรุปและความเห็นจากคนในบ้านก่อนที่จะทำการก่อสร้างโดยที่ไม่ต้องขัดใจกันในภายหลังได้อีกด้วย Read more about สถาปนิกแตกต่างกับวิศวกรอย่างไร ?[…]
การดูแลบ้านพักอาศัยหรืออาคารต่างๆ ควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง
‘บ้าน’ หรือ อาคาร ต่างๆ คือ ที่ๆมีผู้คนอยู่อาศัย ใช้ในการพักผ่อนรวมทั้งทำกิจกรรมต่างๆ เพราะฉะนั้นเพื่อให้บ้านของคุณมีสภาพดี , แข็งแรง สามารถอยู่ไปได้อีกยาวนาน ก็จำเป็นต้องมีการบำรุงบ้านให้มีความทันสมัยอยู่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้น วันนี้เราจึงมีวิธีดูแลบ้านให้มีสภาพดีน่าอยู่มาฝากกันค่ะ ตรวจสอบการรั่วซึมของหลังคาบ้าน การรั่วซึมของหลังคาจะให้เกิดคราบหนักติดอยู่ตามเพดานฝ้า เพราะฉะนั้นต้องรีบแก้ไข ด้วยการปูกระเบื้องมุงหลังคาที่พร้อมเปลี่ยนฝ้าใหม่แบบรวดเร็ว พื้นกระเบื้องไม่ควรปล่อยให้มีน้ำขัง เมื่อปล่อยให้น้ำขังจะทำให้มีตะไคร่มาจับ ทำให้ลื่นอีกทั้งยังหกล้มได้ง่าย เพราะฉะนั้นควรขัดตะไคร้ออกให้เกลี้ยงและเช็ดน้ำให้แห้ง อย่าทิ้งขยะลงไปในท่อ เนื่องจากจะทำให้อุดตันได้ เมื่อท่ออุดตัน ก็จะไม่สามารถระบายน้ำได้ ทำให้ต้องเสียทั้งเวลา เสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซม ดูแลสวน และต้นไม้ไม่ให้รก ควรดูแลต้นไม้ , ตัดหญ้า ให้ดูเป็นระเบียบ เพราะถ้าทิ้งไว้จนรกก็จะเป็นแหล่งอาศัยชั้นดีของสัตว์มีพิษ ไม่ว่าจะเป็น งู หรือตะขาบ นอกจากนี้ควรรดน้ำต้นไม้เป็นประจำเพื่อให้ต้นไม้มีความงดงามอยู่เสมอ เช็คสภาพระบบไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็น สายไฟ , ปลั๊กไฟ , หลอดไฟ ถ้าพบว่าชำรุดควรเปลี่ยนใหม่ทันที เพื่อความปลอดภัยของสมาชิกภายในบ้าน หมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ บ้านสะอาด ทำให้เกิดความสุขแก่ผู้อยู่ เกิดความเจริญหูเจริญตา อีกทั้งยังเป็นการป้องกันฝุ่นหรือเชื้อโรคอีกด้วย แนะนำให้ทำความสะอาดรีโมท , Read more about การดูแลบ้านพักอาศัยหรืออาคารต่างๆ ควรคำนึงถึงเรื่องใดบ้าง[…]
ขอบเขตสถาปนิกแต่ละระดับ
คุณรู้ไหมว่าสถาปนิกแต่ละคนนั้นมีขอบเขตการทำงานที่ต่างกัน และไม่ใช่สถาปนิกทุกคนที่สามารถอนุมัติโครงการใหญ่ๆของรัฐบาลได้ ปัจจุบันนี้คนที่มีอำนาจในการอนุมัติโครงการต่างๆของรัฐบาลได้มีอยู่เพียง 8 คนเท่านั้น ซึ่งเป็นคนที่ได้รับใบอนุญาตถูกต้อง แต่ก่อนจะเข้าเรื่องลึกกันไปกว่านี้ ต้องบอกก่อนว่ามีการแบ่งขอบเขตของสถาปนิกออกเป็น 4 ระดับ ซึ่งประกอบไปด้วยดังนี้ สาขาสถาปัตยกรรมหลัก ผู้ที่มีใบอนุญาตชนิดนี้สามารถที่จะสร้างบ้านพักที่มีขนาดตั้งแต่ 150 ตารางเมตร และสามารถสร้างอาคารเพื่อการเกษตรอย่างเช่น โรงนา หรือยุ้งฉาง โดยมีขนาดตั้งแต่ 400 ตารางเมตรขึ้นไป ถ้าพื้นที่ไม่เกิน 150 และ 400 ตารางเมตรไม่จำเป็นต้องใช้ใบอนุญาต สาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นโครงการใหญ่ของภาครัฐและเอกชน เช่นการว่างผังเมือง การสร้างอาคารขนาดใหญ่ สร้างตึกสำนักงาน โดยมีพื้นที่ตั้งแต่ 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป ปัจจุบันนี้มีผู้ที่มีใบอนุญาติสาขาสถาปัตยกรรมผังเมืองเพียง 8 คน เท่านั้นในประเทศไทย สาขาภูมิสถาปัตยกรรม งานสร้างพื้นที่และอาคารสาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นศาลากลาง อาคารอเนกประสงค์ สวนสาธารณะ อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ทางหลวง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ “สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์” ถ้าเป็นพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป รองรับคนได้ 500 คนขึ้นไป ปัจจุบันนี้มีสถาปนิกที่มีใบอนุญาติภูมิสถาปัตยกรรมอยู่ทั้งหมด Read more about ขอบเขตสถาปนิกแต่ละระดับ[…]
การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หมายถึงอะไร
การที่จะดำเนินการใดๆเกี่ยวกับการก่อสร้าง จะต้องมีใบรับรองประกอบวิชาชีพอย่างถูกต้อง ซึ่งมันเรียกว่า “ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม” ซึ่งเป็นใบที่เจ้าหน้าที่นักออกแบบ หรือ สถาปนิก จะต้องมีเพื่อใช้รับประกันว่ามีคุณวุฒิเพียงพอในการทำงาน โดยมันแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ซึ่งมีขอบเขตการทำงานที่แตกต่างกันออกไป การสถาปนิกประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาตถือว่าเข้าข่ายความผิดที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ. สถาปนิก จะต้องโดนจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท ประเภทของใบอนุญาต ใบอนุญาตในการก่อสร้างหลักๆ สามารถแบ่งออกเป็น 4 ชนิด ในแต่ละชนิดจะแยกหมวดหมูชัดเจนว่าเป็นการก่อสร้างในส่วนใด และมีพื้นที่ขอบเขตแค่ไหน ซึ่งสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ 1.ประเภทสถาปัตยกรรมหลัก เป็นงานก่อสร้างสำหรับที่พักอาศัยทั่วไป รองรับพื้นที่ตั้งแต่ 150 ตารางเมตรขึ้นไป และพื้นที่สำหรับก่อสร้างอาคารเพื่อการเกษตรตั้งแต่ขนาด 400 ตารางเมตรขึ้นไป 2.ประเภทสถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นงานผังเมืองขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่ขนาด 30,000 ตารางเมตรขึ้นไป เช่นสะพาน อาคารสูง และระดับอุตหกรรม 3.สาขาภูมิสถาปัตยกรรม งานพื้นที่ขนาดใหญ่รองรับประชาชนได้ 500 คน มีพื้นที่มากกว่า 1,000 ตารางเมตร 4.สาขาสถาปัตยกรรมภายใน งานภายในอาคารขนาด 500 ตารางเมตร ซึ่งเป็นการจัดสรรพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด Read more about การประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม หมายถึงอะไร[…]
มาดูความก้าวหน้าในอาชีพ สถาปนิก ว่ามีความมั่นคงแค่ใหน
คุณรู้ไหมว่าอาชีพสถาปนิกมีความมั่นคงมากว่าหลายพันปี คุณคิดว่าใครเป็นคนสร้างปิรามิดกันล่ะ ก็สถาปินิกของชาวอียิปต์โบราณไง ตราบใดที่สังคมมนุษย์ยังคงเติบโตและขยายอย่างต่อเนื่อง อาชีพสถาปนิกยังคงสำคัญและมีมั่นคงเสมอ พวกเขาเป็นผู้ที่วางแผน ออกแบบ วิเคราะห์โครงสร้างของอาคาร และสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่อย่าง ตึกสำนักงาน สะพานข้ามแม้น้ำ สนามบิน โดยสถาปนิกเหล่านี้มีหน้าที่อีกอย่างคือรับรองว่าอาคารที่พวกเขาจะอนุมัติให้สร้างนั้น จะต้องมีการออกแบบอย่างถูกต้องและปลอดภัยที่สุด ก่อนที่จะมีการก่อสร้างใดๆเกิดขึ้น จะต้องมีการส่งแบบไปให้สถาปนิกตรวจสอบก่อน ถ้าเกิดไม่เห็นด้วยตรงไหนก็สามารถที่จะคัดค้านการก่อสร้างด้วยการไม่เซ็นเอกสารได้ ดังนั้นเราจึงเห็นได้ว่าพวกเขามีความสำคัญแค่ไหน แต่ถ้าเรามาพูดถึงความมั่นคงของอาชีพนี้ในประเทศไทยล่ะ มันจะมีโอกาสก้าวหน้ามากน้อยแค่ไหนในอาชีพนี้ มันสามารถเติบโตเป็นตำแหน่งใดได้บ้าง วันนี้เราจะพาไปดูความมั่นคงของอาชีพสถาปนิกกัน การทำงานของสถาปนิกในประเทศไทย สำหรับเงินเดือนสถาปนิกทั่วไปนั้นจะเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 20,000 – 25,000 บาท ซึ่งอาจเป็นตัวเลขที่มีความแตกต่างกันออกไปตามบริษัท ซึ่งสามารถเพิ่มเงินได้ขึ้นตามประสบการณ์ในการทำงาน แต่ส่วนใหญ่แล้วพวกเขามักจะได้เงินมหาศาลจากผลตอบแทนจากผู้ประกอบการมากกว่า บันไดขั้นแรกของสายอาชีพนี้อาจเริ่มต้นที่การเป็นผู้ช่วยของสถาปนิก จากนั้นจึงค่อยเติบโตมาเป็นตำแหน่งสถาปนิกเต็มด้วย ยังมีตำแหน่งสูงกว่าที่รองรับคือ สถาปนิกอาวุโส ที่รับคำสั่งจากผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบอีกทีหนึ่ง ถือเป็นตำแหน่งสูงสุดในสายงานอย่างที่บอกว่าเงินที่ได้รับขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่มี ถ้าเป็นคนเก่ง มีผลงานดี ผู้จ้างก็พร้อมที่จะมอบเงินก้อนโตให้คุณ หรืออาจจะออกทำงานอิสระ ตั้งทีม หรือ ตั้งบริษัทของตนเองขึ้น จะเห็นว่ามันมีหนทางเสมอสำหรับสายอาชีพนี้ ถ้าเป็นคนเก่งจริงรับรองว่ารวยแน่นอน ในอนาคตก็ยังมีหนทางดีๆรออยู่เสมอ ทุกวันนี้โลกเรามีวิทยาการใหม่ๆเพิ่มเข้ามา เหล่าวิศวกร และ สถาปนิกต่างได้ประโยชน์จากมัน แต่ก็ต้องเรียนรู้ที่จะใช้ให้เป็นด้วย อย่างเช่นการออกแบบที่สมัยก่อนเรายังต้องเขียนแบบในกระดาษแผ่นใหญ่ๆ ทุกวันนี้เรามีโปรแกรมออกแบบบนคอมพิวเตอร์ แถมสามารถแสดงผลลัทธ์ในรูปแบบสามมิติให้ดูได้อีกด้วย Read more about มาดูความก้าวหน้าในอาชีพ สถาปนิก ว่ามีความมั่นคงแค่ใหน[…]
อุปกรณ์เบื้องต้นของการตรวจสอบบ้านด้วยตัวเอง
เวลาเราจะซื้อบ้านก็ต้องมั่นใจก่อนว่าบ้านของเรามีข้อบกพร่องหรือชำรุดไหม หลายคนคิดว่าตรวจบ้านเองยาก แต่จริงๆแล้วการตรวจรับบ้านด้วยตนเองไม่ได้ยากอย่างที่คิด เราไม่จำเป็นต้องไปจ่ายเงินจ้างคนมาตรวจบ้านหลายพันกว่าบาท เพราะถ้าคุณรู้ว่าต้องทำยังไงและใช้อะไรบ้างก็ไม่ใช่เรื่องยางเลย และนี่คืออุปกรณ์เบื้องต้นที่ควรจะพกติดตัวไปด้วยเพื่อใช้ในการตรวจสอบบ้านก่อนที่เราจะตัดสินใจ 1.สมุดจดบันทึก สมุดจดบันทึกเป็นสิ่งสำคัญสุดเหนือสิ่งใด เอาไว้จดรายการตรวจเช็ดที่เราเตรียมเอาไว้ก่อนเข้ามาในพื้นที่ โดยแบ่งเป็นโซนๆ เช่น ห้องนอน, ห้องน้ำ, ห้องนั่งเล่น, ห้องครัว, เช็คผนักกำแพงร้าว, เช็คฝ้าแตก รายการเหล่านี้ช่วยให้เราตรวจสอบบ้านได้สมบูรณ์แบบขึ้น หลายคนที่ไม่ได้จดมักจะวนไปวนมาอยู่ห้องเดิมและเวลาที่นึกไม่ออกเป็นอะไรที่น่าปวดหัวมากๆ แต่ถ้าจดเอาไว้เราสามารถนั่งเช็ดได้ทุกรายละเอียดเชียวล่ะ 2.กล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายรูปเอาไว้ถ่ายหลักฐานต่างๆ เช่น รอยแตกร้าว, เฟอร์นิเจอร์ไม่สมบูรณ์, สายไฟไม่เป็นระเบียบและอื่นๆ ที่เราคิดว่าจะนำไปใช้เป็นหลักฐานกับโครงการหรือผู้ขาย การมีภาพชัดเจนช่วยให้เราสามารถประโยชน์ในการต่อรองสูง ลดระยะเวลาการตรวจสอบซ้ำซ้อน 3.ไฟฉาย ไฟฉายถือเป็นอุปกรณ์พื้นฐานทั่วไป หลักๆเอาไว้ส่องดูความเรียบร้อยในที่แสงน้อย หรือในตอนที่เราเช็คระบบไฟต่างๆในตู้เบรคเกอร์ แต่คนส่วนใหญ่ก็มักจะไปกันตรวจบ้านก่อนช่วงเย็น แต่ถ้ามันเริ่มเย็นแล้วควรจะพกไปมากๆเลยล่ะ 4.ตลับเมตร ตลับเมตรถือเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ทราบถึงขนาดต่างๆที่เราต้องการ ไม่ว่าจะเป็นความกว้างของห้องน้ำ ห้องรับแขก ช่วยให้เราวางแผนได้ว่าพื้นที่ใช้สอยของเราจะมีเท่าไหร่ เพียงพอแก่เฟอร์นิเจอร์ที่เราวางแผนจะนำเข้ามาหรือไม่เป็นต้น 5.ระดับน้ำ ถ้าเป็นคนที่หงุดหงิดอะไรง่ายๆกับอะไรเอียงๆ ไม่ว่าวงกบเอียง หน้าต่างเอียง ชั้นวางเอียง แนะนำให้พกระดับน้ำไปด้วย แล้วเอาไปทาบดูเลยว่ามันเอียงไหม ไหนๆเราก็เสียเงินซื้อบ้านเป็นล้าน เราก็ควรจะได้บ้านที่สมบูรณ์แบบสิจริงไหม 6.อุปกรณ์เช็ดสายดิน ระบบไฟเป็นอะไรที่สำคัญมากในบ้านของเรา โดยเฉพาะสายดินภายในบ้าน หากไม่มีสายดินมีโอกาสที่จะเกิดอันตรายกับคนในบ้านหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าได้เมื่อเกิดการช็อตขึ้นมา Read more about อุปกรณ์เบื้องต้นของการตรวจสอบบ้านด้วยตัวเอง[…]